การบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในงานก่อสร้าง

Last updated: 25 พ.ค. 2567  |  130 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในงานก่อสร้าง

การบริหารความเสี่ยง คืออะไร?

การบริหารความเสี่ยง เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำงาน และสามารถวางแผนการจัดการความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในการทำงานก่อสร้าง อีกทั้งยังช่วยลดผลกระทบต่องานและผู้คนได้อีกด้วย
ดังนั้น การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ไม่ควรละเลยในการทำงานก่อสร้าง

6 ขั้นตอนในการบริหารความเสี่ยง มีดังนี้

- การระบุความเสี่ยง

- การจัดลำดับความเสี่ยงตามความสำคัญ

- การกำหนดเทคนิคตอบสนองต่อความเสี่ยง

- การดำเนินการตามแผน

- การสร้างแผนฉุกเฉิน

- การปรับปรุงและแก้ไข

การระบุความเสี่ยง

ในการจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยงในงานก่อสร้างนั้น ก่อนอื่นจะต้องระบุปัจจัยที่อาจเป็นอันตรายต่อโครงการมากที่สุด
แหล่งที่มาของความเสี่ยงที่เกิดและพบได้บ่อย มีดังนี้

1. ความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัย
เป็นความเสี่ยงที่มาจากการก่อสร้างที่อาจส่งผลให้ผู้ที่ทำงานเกิดอันตรายได้
2. ความเสี่ยงทางด้านการเงิน
ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการไหลเวียนทางการเงินของคุณ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ การขายที่มีัญหา การแข่งขันกันระหว่างบริษัท ฯลฯ
3. ความเสี่ยงทางด้านกฎหมาย
ข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติตามสัญญากับลูกค้า
4. ความเสี่ยงทางด้านโครงการ
อาจเกิดขึ้นได้จากการจัดการทรัพยากรที่ไม่ดี การคำนวณเวลาที่ผิดพลาด การเข้าใจผิดในการส่งมอบโครงการ
5. ความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม
ปัจจัยที่มาจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว และปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่สามารถส่งผลต่อการก่อสร้างได้


 การจัดลำดับความเสี่ยงตามความสำคัญ

หลังจากระบุความเสี่ยงแล้ว การจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงนั้น ถือเป็นสิ่งที่ควรทำ ควรพิจารณาผลกระทบและโอกาสของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยความเสี่ยงที่มีผลกระทบสูงควรถูกพิจารณาก่อนเสมอ ตัวอย่างเช่น

  • - หากวัสดุอุปกรณ์ในการทำงานสามารถหาซื้อมาทดแทนได้ง่าย ให้จัดระดับอยู่ที่ความเสี่ยงต่ำ
    - การที่ร้านค้าปรับราคาของวัสดุอุปกรณ์อาจส่งผลกระทบต่องบประมาณ ให้จัดอยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลาง
    - ภัยธรรมชาติสามารถส่งผลกระทบต่องานก่อสร้างได้สูง แต่โอกาสการเกิดค่อนข้างต่ำ เลยจัดให้อยู่ในระดับปานกลาง
    - ผู้รับเหมาไม่สามารถทำงานของโครงการได้ตามกำหนด ให้จัดระดับความเสี่ยงไว้ที่ความเสี่ยงสูง

การกำหนดเทคนิคตอบสนองต่อความเสี่ยง

เมื่อพิจารณาลำดับความสำคัญแล้ว ก็จำเป็นจะต้องเลือกเทคนิคการตอบสนองต่อความเสี่ยงให้เหมาะสม
เทคนิคถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1. หลีกเลี่ยงความเสี่ยง
หากคุณรู้สึกไม่พร้อมที่จะจัดการความเสี่ยงหรือไม่มีแผนรองรับไว้อย่างเหมาะสม ตัวเลือกที่ปลอดภัยที่สุดคือ 'การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง' เช่น หลีกเลี่ยงพื้นที่ก่อสร้างที่มีแนวโน้มจะเกิดน้ำท่วมหรือแผ่นดินไหว
2. โอนถ่ายความเสี่ยง
การใช้เทคนิคนี้อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่ยังดีกว่าการยอมรับความเสี่ยงไปเลย เช่น คุณสามารถโอนความเสี่ยงไปให้บริษัทประกันภัยหรือทำข้อตกลงกับผู้รับเหมาเพื่อลดความเสี่ยง
3. บรรเทาความเสี่ยง
คุณสามารถทำการฝึกอบรมพนักงานให้พร้อมรับมือทุกสถานการณ์และวางแผนลดความเสี่ยงเพื่อให้ส่งผลกระทบต่องานต่ำที่สุด
4. ยอมรับความเสี่ยง
ในบางครั้งเราก็ต้องเผชิญความเสี่ยงเพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วง เช่น ยอมรับว่าโครงการจะสำเร็จล่าช้าเนื่องจากสภาพอากาศที่คาดเดาไม่ได้ หรือยอมรับ

การดำเนินการตามแผน

เมื่อคุณได้ทำการวางแผนและระบุความเสี่ยงต่าง ๆ ไว้แล้ว ก็พร้อมที่จะดำเนินงานตามแผนการ และควรวางแผนรองรับความเสี่ยงเพิ่มเติมที่จะสามารถเสริมสร้างเทคนิคการตอบสนองความเสี่ยงของคุณไว้ด้วย

สิ่งสำคัญ คือ คุณต้องจำไว้ว่าการแก้ปัญหาความเสี่ยงสามารถส่งผลกระทบต่อบริษัทของคุณได้เสมอ

3 วิธีการวางแผนรองรับ มีดังนี้

  1. การวางแผนด้านกลยุทธ์ 
    เช่น ประเมินและจัดการความเสี่ยงร่วมกับองค์กร, ใช้ความเสี่ยงในการหาช่องทางทำกำไร, ใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ช่วยในการจัดการงาน
    2. การวางแผนด้านโครงสร้าง 
    เช่น ก่อตั้งแผนกจัดการความเสี่ยงภายในองค์กรอย่างเป็นทางการ, ตรวจสอบให้แน่ใจว่าประกันภัยของคุณคุ้มครองรายได้ได้อย่างครอบคลุมหรือไม่, ขอคำแนะนำจากบริษัทกฎหมายและบริษัทบัญชี
    3. การวางแผนด้านการดำเนินงาน 
    เช่น สร้างกระบวนการการทำงานขึ้นมาเพื่อนำมาทบทวนความเสี่ยง, พัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร, ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาช่วยในการทำงานเพื่อลดความเสี่ยง


  2. การสร้างแผนฉุกเฉิน

  3. เมื่อต้องเผชิญกับความเสี่ยง แม้คุณจะทำการวางแผนไว้อย่างรอบคอบแล้ว ก็ควรจะเตรียมแผนฉุกเฉินไว้เสมอ เช่น โครงการของคุณมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย คุณก็ต้องสื่อสารกับคนในทีมและจัดเตรียมอุปกรณ์สำรองไว้ด้วยและควรตั้งกฎระเบียบเพื่อป้องกันอันตรายให้เรียบร้อย

การปรับปรุงและแก้ไข

แม้ว่าความเสี่ยงทั้งหมดจะได้รับคำนวณแล้ว แต่ความเสี่ยงก็ยังสามารถเกิดได้ทุกเมื่อ เนื่องจากบางความเสี่ยงมาจากปัจจัยที่ไม่ทราบสาเหตุ การตรวจสอบและแก้ไขแผนการที่วางไว้อย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับการทำงานของคุณ

ประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยง

  1. 1. ปรับปรุงการดำเนินงาน
    เมื่อทำการวางแผนบริหารความเสี่ยงแล้ว มันจะช่วยให้โครงการของคุณในอนาคตสำเร็จได้ง่ายขึ้น คนในทีมมีความรู้ ความพร้อมที่จะตั้งรับและตัดสินใจเมื่อเจอกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

  2. 2. เพิ่มความปลอดภัย
    แผนการบริหารความเสี่ยงสามารถช่วยให้คนในทีมทำงานกันได้อย่างปลอดภัย โอกาสที่จะเกิดเหตุลดลง และสามารถทำให้งานสำเร็จ
  3. ลุล่วงได้เร็วขึ้น

  4. 3. เพิ่มความมั่นใจ

    การมีแผนรองรับที่ดีสามารถเพิ่มความมั่นใจให้กับคนในทีมได้ เพราะเมื่อโครงการเกิดปัญหาขึ้นก็สามารถวางแผนและแก้ไขข้อผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว แถมยังสามารถประหยัดเวลาและทรัพยากรในโครงการได้อีกด้วย

  5. 4. เพิ่มกำไร
    การลงมือทำงานโดยไม่วางแผนไว้ก่อนย่อมมีความเสี่ยงสูงมากจนสามารถส่งผลต่อกำไรของบริษัทได้ ดังนั้น แผนจัดการความเสี่ยงที่วางแผนอย่างละเอียดจะสามารถลดความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี และแผนที่ดีก็ย่อมส่งผลที่ดีต่อองค์กรไปด้วย รวมถึงกำไรของบริษัท



    Powered by MakeWebEasy.com
    เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้