Last updated: 25 พ.ค. 2567 | 150 จำนวนผู้เข้าชม |
สิ่งที่ควรคำนึงถึงหากต้องการรับเหมาติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
• สถานที่ติดตั้ง
ให้ดูทิศทางลมว่ามีการไหลเวียนเข้าและออกดีหรือไม่ และต้องห่างจากสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองหรือสารเคมีสิ่งสกปรกและบริเวณที่มีความชื้นสูง
• การออกแบบห้อง
ควรมีพื้นที่ว่างบริเวณรอบตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอย่างน้อย 1.5-2 ม. เพื่อที่จะสามารถเข้าไปซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและสามารถตรวจเช็คสายไฟหลัก ท่อน้ำมัน ท่อดักลม รวมถึงท่อไอเสีย
• การระบายอากาศ
จำเป็นต้องมีการระบายอากาศที่ดี เพื่อระบายความร้อนสะสมในห้องและตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยอากาศจะไหลเวียนจากด้านหลังไปยังด้านหน้า ซึ่งต้องมีช่องลมเข้าและช่องลมออกที่เหมาะสมกับขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
• การสร้างฐานติดตั้ง
ฐานต้องรองรับน้ำหนักของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ทั้งชุด รวมทั้งแรงปฏิกิริยาที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของเครื่อง ฐานควรยกให้สูงประมาณ 10-15 ซม.จากพื้น แท่นรับควรจะใหญ่กว่าฐานรับของเครื่องอย่างน้อยด้านละ 200-400 มม.
• การติดตั้งท่อไอเสีย
ท่อไอเสียควรจะสั้นเท่าที่สภาพของสถานที่ติดตั้งจะอำนวย และให้มีข้องอน้อยที่สุดใน กรณีต้องเดินยาวกว่า 10 ม. จะต้องเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ โดยขึ้นอยู่กับความยาวและจำนวนข้องอที่ใช้
ข้อควรระวังในการใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
1. ถ้าระบบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นแบบจ่ายกระแสอัตโนมัติ ให้ปรับไปที่ตำแหน่ง OFF หรือปลดขั้วสายแบตเตอรี่ออก เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องยนต์สตาร์ทเองขณะทำการตรวจเช็คเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
2. ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำถ้าเครื่องยนต์ยังร้อนอยู่
3. ห้ามจ่ายกระแสไฟเกินกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
4. ไม่ควรเปิด-ปิดเบรกเกอร์ โดยไม่จำเป็น
5. ควรตรวจสอบกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า ความถี่ทางไฟฟ้าอยู่เสมอ
6. ควรตรวจสอบแรงดันน้ำมันเครื่องและอุณหภูมิของเครื่องยนต์
7. ในการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำเป็นต้องเดินสายดินโดยต่อกับแท่งทองแดงที่ฝังอยู่ใต้ดินตามมาตรฐานกำหนด ทั้งนี้ต้องต่อตัวเครื่องยนต์และตู้ควบคุม
27 พ.ค. 2567
10 ก.ย. 2567
27 พ.ค. 2567
27 พ.ค. 2567