Last updated: 24 พ.ค. 2567 | 109 จำนวนผู้เข้าชม |
ปัญหาไฟกระชาก คืออะไร
ไฟกระชาก หรือ ไฟกระโชก คือ การเกิดแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เสถียรตามปกติที่อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต้องการ โดยเป็นสภาวะที่มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเฉียบพลัน ความเสียหายที่เกิดจากไฟกระชากก็จะมีความรุนแรงแตกต่างกันออกไปตามสาเหตุ ซึ่งผลกระทบอาจเกิดขึ้นทันที หรืออาจจะค่อยๆ ทำให้อุปกรณ์ของเราเสื่อมสภาพลงไปอย่างช้าๆ
ไฟกระชาก ไฟตก ไฟดับ ต่างกันอย่างไร
เมื่อได้รู้กันไปแล้วว่าไฟกระชากคืออะไร แต่ยังสับสนกับไฟตกและไฟดับ มีอาการแตกต่างจากไฟกระชากอย่างไร ซึ่งไฟตก คือการที่กระแสไฟจ่ายไฟที่ต่ำกว่า 220 V และเนื่องจากอุปกรณ์มีความต้องการไฟที่มากกว่าแรงดันไฟที่ส่งมาในขณะนั้น จึงทำให้เกิดความขัดข้องของระบบไฟฟ้า ส่วนไฟดับ คือการที่กระแสไฟหยุดไหล อาจเนื่องด้วยความต้องการกระแสไฟฟ้ามากเกินกว่ากระแสไฟที่ถูกส่งมา จึงทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร หรือสาเหตุอาจเกิดจากปัญหาที่เราไม่ทันได้ตั้งตัว เช่น หม้อแปลงระเบิด เสาไฟฟ้าล้ม สายไฟฟ้าขาด ที่ส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟตามความต้องการใช้ไฟฟ้าได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดไฟกระชาก มีอะไรบ้าง
ไฟดับ
ไฟดับสามารถส่งผลต่อการเกิดไฟกระชากได้ โดยการที่ขาดไฟไปชั่วขณะนั้นไม่ได้ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าได้รับผลกระทบ หากแต่เมื่อไฟกลับมาติดนั้นทำให้กระแสไฟที่จ่ายไปยังอุปกรณ์ของเรากระโดดเนื่องจากได้รับกระแสไฟอย่างเฉียบพลัน จึงทำให้เกิดเป็นไฟกระชากได้เช่นกัน
การติดตั้งหรือเดินไฟไม่ได้มาตรฐาน
การติดตั้งวงจรไฟที่ไม่ได้มาตรฐานเป็นสิ่งที่ตรวจสอบได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากมักเกิดตามระบบภายในของการเดินไฟ หากแต่มักมีสัญญาณที่จะทำให้เรารู้ถึงการเดินไฟที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น ได้กลิ่นไหม้จากสายไฟ หรือ เบรกเกอร์มักถูกตัดอยู่บ่อยๆ ซึ่งสาเหตุนี้ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟกระชาก ที่จะส่งผลเสียต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และวงจรไฟโดยรวมเช่นกัน
ฝนตกหนัก ฟ้าผ่า หรือพายุเข้า
สาเหตุนี้เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ฝนตกหนัก มีพายุ ฟ้าร้อง และมีฟ้าผ่า ซึ่งจะทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าเกิดความไม่เสถียร ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลทำให้ไฟฟ้าติดๆ ดับๆ หรือเกิดเป็นไฟกระชากได้
มีกระแสไฟฟ้าเกินความต้องการ
กระแสไฟเกินความต้องการจนเกิดเป็นไฟกระชากมักเกิดขึ้นจากการที่ใช้สายพ่วงมากจนเกินไป หรือการเสียบอุปกรณ์ต่างๆ ในวงจรเดียวกันเยอะๆ ซึ่งทำให้ไฟฟ้าเกินพิกัด และมีการดึงพลังงานมากเกินไปจากในหนึ่งวงจร
สัญญาณของไฟกระชาก ที่กำลังจะเกิดขึ้น
ไฟกระชากสามารถส่งจากสายต่างๆ ได้ ดังนี้
- สายไฟสามเส้น (Line, Neutral และ Ground)
- สาย Lan
- สายสัญญาณ AV
- เสาอากาศและดาวเทียม
- สายโทรศัพท์
- สายอื่นๆ ที่พ่วงต่อมาจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
ป้องกันเครื่องใช้ไฟฟ้า และแก้ไขไฟกระชากด้วยตัวกันไฟกระชาก 3 เฟส
ไฟกระชากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ ซึ่งความรุนแรงอาจจะไม่มากเท่าไรและระดับความรุนแรงก็แตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามอย่าปล่อยทิ้งไว้นาน และอย่านิ่งนอนใจเพราะอาจส่งผลเสียในระยะยาวได้ ดังนั้นจึงต้องหาวิธีแก้ไขและป้องกัน ด้วยตัวไฟกระชาก 3 เฟส
ตัวกันไฟกระชากเฟส 3 คือ เครื่องมือที่ใช้เพื่อป้องกันสายไฟจากแรงดันไฟที่อาจส่งกระแสไฟมาเกินแบบชั่วคราว หรือ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งจะช่วยป้องกันการใช้งานให้แก่ผู้บริโภค หรือช่วยป้องกัน และดูแลการติดตั้งระบบไฟฟ้าอื่นๆ ตัวอย่างของเครื่องป้องกันไฟกระชาก เช่น Surge Protector หรือเครื่องป้องกันไฟกระชาก เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงดันไฟฟ้า เพื่อป้องกันความเสียหายขณะที่เกิดไฟกระชากจนทำให้กระแสหรือแรงดันไฟฟ้ามีความผิดปกติ
ตัวกันไฟกระชาก 3 เฟส ทำงานอย่างไร
ในสถานการณ์ปกติ ตัวกันไฟกระชากจะทำหน้าที่เป็นวงจรเปิด ซึ่งจะไม่ได้ส่งผลอะไรต่อวงจร หรือระบบไฟอื่นๆ หากแต่เมื่อเกิดไฟกระชาก อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากจะลดอิมพีแดนซ์และเปลี่ยนกระแสอิมพัลส์ จะมีลักษณะเป็นวงจรปิด เพื่อจำกัดแรงดันไฟส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไฟกระชาก โดยเมื่อเหตุการณ์กลับมาปกติอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากก็จะกลับมาเป็นวงจรเปิดตามเดิม
ทำไมต้องป้องกันไฟกระชากด้วยตัวกันไฟกระชาก 3 เฟส
การใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟนั้นเป็นสิ่งที่เราควรจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากอันตรายที่อาจเกิดจากเหตุขัดข้องของระบบไฟฟ้าอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของเรา โดยตัวกันไฟกระชาก 3 เฟส นั้นเป็นอุปกรณ์ที่เป็นส่วนสำคัญของระบบไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความละเอียดสูง การเลือกใช้ตัวกันไฟกระชากเฟส 3 จึงเป็นทางเลือกที่ดีเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นและช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี
สรุป
ไฟกระชาก คือเหตุการณ์ที่กระแสไฟถูกจ่ายมาให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่เพียงพอ จนทำให้อุปกรณ์และระบบไฟฟ้าเกิดความขัดข้องไปชั่วขณะ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าค่อยๆ ลดลง จนอาจทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ อีกทั้งยังส่งผลอันตรายต่อผู้ใช้งานอย่างเราด้วยเช่นกัน
ดังนั้นการเตรียมตัวเพื่อป้องกันผลกระทบหรืออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไฟกระชากหรือไฟฟ้าขัดข้องสามารถป้องกันได้โดยการเตรียมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
10 ก.ย. 2567
27 พ.ค. 2567
27 พ.ค. 2567
27 พ.ค. 2567